โครงงานคอมพิวเตอร์ ประเภท พัฒนาเกม

เรื่อง หมากรุก


บทที่1ที่มาและความสำคัญ "คลิก"

บทที่2เอกสารที่เกี่ยวข้อง "คลิก"

บทที่3วิธีดำเนินงานโครงงาน "คลิก"

บทที่4ผลการดำเนินงานโครงงาน "คลิก"

บทที่5สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ "คลิก"

โปรแกรมหมากรุกไทย Thai Chess Portable

Thai Chess Portable (โปรแกรม Thai Chess หมากรุกไทย สำหรับผู้หัดเล่น จนถึงระดับกลาง) : สำหรับโปรแกรมนี้มีชื่อว่า โปรแกรม Thai Chess Portable เป็น โปรแกรมหมากรุก ในรูปแบบของเกมส์ เหมาะ สำหรับผู้ที่สนใจ เกมส์ประเภทหมากกระดาน แบบไทยไทย เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเล่นหมากรุกไทย ใหม่ๆ ไปจนถึงระดับกลาง
โดย โปรแกรม Thai Chess Portable ตัวนี้นั้น ผู้เล่นสามารถบันทึกเกมส์  อ่านวิธีใช้งานในรากเดียวกันกับโปรแกรม โปรแกรมนี้สามารถเล่นระหว่างคนกับคนได้ คนกับคอมพิวเตอร์ได้ คอมพิวเตอร์กับคนได้ หรือ คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ได้ ทั้งนี้โปรแกรมรวมกติกานับศักดิ์กระดาน ไม่รวมกติกานับศักดิ์หมาก โปรแกรมนี้สามารถเล่นได้เลย 


วิธีการเล่นหมากรุกไทย(เบื้องต้น)

1.ขุน 1 ตัว    เป็นหมากตัวที่สำคัญที่สุดในเกม สามารถเดินรอบทิศทางได้
 อย่างละ 1 ช่อง ไม่สามารถเดินไปในช่องเดินของหมากฝ่ายตรงข้ามได้

2.เม็ด 1 ตัว   เดินเป็นแนวแทยงอย่างละ 1 ช่อง

3.โคน 2 ตัว  เดินแถวหน้าได้ 3 ช่อง แถวหลังเฉียง 2 ช่อง

4.ม้า 2 ตัว     เดินเป็นรูปตัว L ขนาด 2x3 เดินได้8 ทิศทาง 
                        สามารถเดินข้ามหมากตัวอื่นได้


5.เรือ 2 ตัว    เดินทางตรงได้จนสุดกระดานถ้าไม่ติดหมากตัวอื่น

6.เบี้ย 8 ตัว  เดินตรง 1 ช่อง แต่เวลากินหมากฝ่ายตรงข้าม จะกินแนวเฉียง และเมื่อเบี้ยฝ่ายเราเดินไปจนถึงช่องเดินขอเบี้ยฝ่ายตรงข้าม จะสามารถหงายเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการเดินเป็นแบบเม็ดได้ จะเรียกเบี้ยพวกนี้ว่า เบี้ยหงาย

ซึ่งจะมีตำแหน่งการวางดังนี้











    ตำแหน่งการวางหมาก เรียงจากซ้ายไปขวา เรือ-ม้า-โคน-ขุน-เม็ด-โคน-ม้า-เรือ แถวที่ 3 ทั้งหมดคือเบี้ย

    หลังจากเรามีทั้งกระดานและเรียงตัวหมากเสร็จแล้วก็มาเริ่มเล่นเกมกันเลย
    1.ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้เริ่มก่อน
    2.จากนั้นให้ผู้เล่นคนแรกเลือกเดินหมากของตนเมื่อเดินเสร็จ                                   ก็ให้ผู้เล่นคนที่ 2 ได้เดินต่อ ผลัดกันเดินคนละตาไปเรื่อยๆ
    3.เมื่อเราทำการวางตัวหมากของเราทับช่องของตัวหมากของฝ่ายตรงข้าม           ตัวหมากตัวน้ันจะต้องถูกนำออกจากเกมแล้วจะถือว่าเรากินหมากตัวนั้นแล้ว
    4.เมื่อเราวางหมากในตำแหน่งที่ตาเดินต่อไปของเราจะกินขุนได้นั้นจะเรียก           ว่าการ รุก ซึ่งฝ่ายตรงข้ามนั้นต้องขยับขุนหนีไม่ก็กินหมากของเรา                       ที่กำลังรุกอยู่
    5.เมื่อเรารุกขุนของฝ่ายตรงข้ามไปจนถึงช่องที่ขุนไม่สามารถหนีได้หรือเอา           หมากตัวอื่นมาบังได้จะเรียกกรณีนี้ว่ารุกฆาต แล้วเกมก็จะจบลง
    6.ในกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามเหลือขุนเพียงตัวเดียวแล้วเราไม่สามารถรุกฆาตขุนได้     ในจำนวนตาที่จำกัด ในเกมนั้นจะถือว่าเสมอกัน
    7.หากเราและผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเหลือขุนเพียงตัวเดียวทั้งคู่ เกมนั้นก็จะนับว่า         เสมอเช่นกัน
    เป็นไงกันบ้างสำหรับวิธีการเล่นหมากรุกไทย บางส่วนอาจจะดูยุ่งยากไปนิดแต่ถ้าได้เล่นแล้วรับรองเลยว่าจะต้องติดใจ